หาอะไรก็เจอ

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)สามารถสื่อสารกันได้ในหลายทาง เช่น อีเมล์ เว็บ เป็นต้น อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล




ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก ทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคน

อินเตอร์เน็ตเกิดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 พ.ศ.2534 เป็นปีที่มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเครือข่าย UUNET ของบริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสือสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยใช้บริการในนาม บริษัท อินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำหรับใครสักคนที่"หัวใจผูกกัน"



เพลงแต่ละเพลงมีความหมายในตัวของมัน ไม่ต้องมีคำพูดมากมายแค่เพลง 1 หนึ่งก็สามารถบอกความรู้สึกดีดีเหล่านั้นได้

ลองฟังดู...แล้วคุณจะยิ้มไปกับมัน

รักแบบไหนกันนะคือ ...รักแท้..




ใครที่กำลังมีความรัก วันนี้มีวิธีสังเกตว่าความรักที่มีอยู่นั้น เป็นรักแท้หรือเปล่ามาให้อ่านกัน...
1. ต้องมีความรู้สึกได้สัมผัส กับความสุขร่วมกับคน ๆ นั้น เมื่ออยู่ด้วยกันก็จะมีความสุขมาก ไม่เคยเบื่อที่มีเขาอยู่ใกล้ ๆ และเมื่อยามที่เขาห่างไกลไม่ได้เห็นหน้า ก็จะรู้สึกเหงา ๆ และคิดถึง ไม่ใช่พอเขาหันหลังให้ ก็กระโดดโลดเต้นดีใจ 2. ต้องให้ความเคารพนับถือคน ๆนั้น ถ้าจะรักใครสักคน แล้วตั้งหน้าดูถูกไม่เคยให้ความเคารพ ในความเป็นเขา แล้วคนอื่น ๆ จะเคารพคน ๆ นั้น ของเราได้อย่างไรและเราจะภูมิใจหรือ กับการที่ได้รักใคร่กับคนที่ใคร ๆ เขาดูถูก
3. ต้องรู้สึกว่าคน ๆ นั้นเป็นที่พึ่งได้ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในชีวิต ก็มั่นใจว่าเขาจะอยู่เคียงข้างเพื่อคอยช่วยเหลือ 4. ต้องเชื่อมั่นว่าถ้ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน สัมพันธภาพก็ยังคงดำเนินต่อไป เพราะคนเราย่อมผิดพลาดกันได้ ถ้ารู้จักอภัยกันมันก็อยู่กันทน
5. ต้องเข้าถึงความต้องการอารมณ์ และความรู้สึกของคน ๆ นั้นอย่างถ้ารู้ว่าชอบจะอยู่คนเดียวตามลำพังบ้าง ก็ควรเปิดโอกาสได้อยู่กับตัวเอง ด้วยความเต็มใจ
6. ต้องมีความรู้สึกต้องตาต้องใจในสรีระของคน ๆ นั้น ไม่ว่าจะต้องเสน่ห์ในความเป็นหญิงกำยำ หรือในความล้านจนขึ้นเงาวับบนหัวเขา มันก็มีส่วนในความรักเหมือนกัน
7. ต้องรู้สึกว่าเรา สามารถจะพูดคุยกับคน ๆ นั้นได้ทุกเรื่องอย่างเปิดอก สามารถที่จะขุดความรู้สึกส่วนลึกในหัวใจ ขึ้นมาพูดได้ ไม่ใช่ต้องปิดบังความรู้สึกส่วนนั้นไว้ เพราะกลัวว่าถ้าพูดออกมาแล้ว เราจะอับอายหรือไม่ก็กลัวว่าเขาได้ยิน แล้วจะเดินหายไปจากชีวิต
8. ต้องรู้สึกว่าคน ๆ นั้นเป็นของมีค่าในมือ ถ้าไม่มีเขาสักคน ชีวิตของเราก็สูญของมีค่าไป
9. ต้องรู้สึกเต็มใจที่มีส่วนร่วมกับคนๆ นั้นในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่าความคิดอารมณ์ และเวลาแต่ไม่ใช่ร่วมกับเขาไปหมด จนเขาไม่เหลือความเป็นตัวของตัวเอง
10. ต้องรู้สึกอยากมีส่วนร่วมอยากรับฟังทุกอย่าง ไม่ว่าสิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นสิ่งที่ทุกข์ ที่เรียกว่าร่วมทุกข์ร่วมสุข เพราะคนที่ต้องการแต่จะร่วมสุข นั่นหมายถึงว่าคุณไม่ได้มีรักแท้กับคนๆนั้น
ลองนำไปสังเกตความรักของคุณดูได้ ว่าเป็นรักแท้แบบไหน.

"คนที่เรารัก" กับ "คนที่รักเรา"

ระหว่าง "คนที่เรารัก" กับ "คนที่รักเรา" เราควรจะเลือกใครดี คนที่เรารัก.....คือคนที่ใช่สำหรับเรา แต่บางครั้ง.....เรากลับรู้สึกว่าเขาไม่ใช่ คนที่เรารัก.....คือคนที่เราคิดว่าเรารู้จักเขาดี แต่แท้จริงแล้ว....เรากลับไม่รู้จักเขาเลย คนที่เรารัก......คือคนที่เราพร้อมจะเป็นผู้ให้ แต่สิ่งที่เราให้.....เขากลับไม่เคยมองเห็นสิ่งที่เราให้ไป คนที่เรารัก........คือคนที่เราอยู่ด้วยเวลามีความสุข แต่เวลาเราทุกข์.....เรากลับมองหาเขาไม่เจอ คนที่เรารัก....คือคนที่เราใส่ใจทุกเวลา แต่ที่แย่กว่าคือ.....ตลอดมาเขาไม่ได้ "รักเรา"…….คนที่รักเรา.......คือคนที่เราเพียงมองผ่าน แต่เขา.....กลับมองเราอย่างใส่ใจ คนที่รักเรา.....คือคนที่เราไม่พยายามทำความรู้จัก แต่เขา.....กลับพยายามทำความรู้จักเรา คนที่รักเรา.....คือคนที่เราไม่เคยให้ความสำคัญมากมาย แต่เขา.....กลับให้ในสิ่งที่ล้วนมีค่ามีความสำคัญกับเรา คนที่รักเรา......คือคนที่เราไม่เคยเห็นหน้าเวลาสุข แต่เวลาทุกข์......เขากลับเป็นเหมือนเงาคอยเฝ้าตาม คนที่รักเรา.....คือคนที่เราไม่เคยนึกถึง แต่มีสิ่งหนึ่ง.....บอกให้รู้ว่า......"เขารักเรา"

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติจังหวัดนครราชสีมา


ประวัติเมืองนครราชสีมา (โคราช)

ประวัติจังหวัดนครราชสีมาเมืองนครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทยแต่เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร คือ เมือง"โคราช" หรือ "โคราฆะ" กับเมือง "เสมา" ทั้งสองเมืองดังกล่าว เคยเจริญ รุ่งเรืองมาก ในสมัยขอมแต่ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดน ให้มี ป้อม ปราการ จึงให้ย้ายเมืองที่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองที่มีป้อมปราการและคูน้ำล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ ในปัจจุบัน แล้วเอานามเมืองใหม่ทั้งสอง คือเมืองเสมา กับเมืองโคราฆะ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่าเมืองนครราชสีมา แต่คนทั่วไป เรียกว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐ มีใบเสมาเรียงรายตลอด มีป้อมกำแพงเมือง 15 ป้อม 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลง มีชื่อดังต่อไปนี้ - ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียก "ประตูน้ำ" - ทางทิศใต้ ชื่อประตูชัยณรงค์ นัยหนึ่งเรียก "ประตูผี" - ทางทิศตะวันออก ชื่อ "ประตูพลล้าน" นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก - ทางทิศตะวันตก ชื่อ "ประตูชุมพล"
ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้ มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤหาสน์) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผามีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกัน ทุกแห่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขง เป็นประเทศราช 3 เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองคมพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมือนครราชสีมา ปกครองเมืองกรมการป่าดง และเมืองดอนที่ไม่ขึ้นต่อ ประเทศราช ทั้ง 3 และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองเอก ผู้สำเร็จราชการ มียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระยาเมืองนครราชสีมาคนแรกชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมา ได้นำช้าง เผือก 2 เชือก ที่คล้องได้ในเขตอำเภอภูเขียว ซึ่งน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทร์ไอยรา และพระเทพ กุญชรช้างเผือก เมื่อส่งเข้าเมืองยังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือกอยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมืองนครราชสีมา มีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้า ต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา ไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และนำ สินค้าจากกรุงเทพฯมาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออก โดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2434 ( ร.ศ. 1110) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น 3 มณฑล คือ
1. มณฑลลาวพวน มีเมืองหนองคาย เป็นที่ว่าการมณฑล
2. เมืองลาวกาว มีเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นที่ว่าการมณฑล
3. เมืองลาวกลาง มีเมืองนครราชสีมา เป็นที่ว่าการมณฑล
ต่อมาเมื่อได้จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลทั่วทั้งพระราชอาณาเขตได้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง 3 เสียใหม่ คือมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว เป็นมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลลาวกลางเป็นมณฑลนครราชสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แล้วได้ยกเลิกการจัดหัวเมืองมณฑล เทศาภิบาล และจัดใหม่เป็นภาคมณฑลนครราชสีมา เป็นภาคที่ 8 มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีษะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2476 ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า ทำการยึด เมืองนครราชสีมา เป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพล ในการที่จะเข้ายึดพระนคร เพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของ พลเอกพระยา พหล พลพยุหเสนา ลาออก ในการก่อกบฏครั้งนี้ ข้าราชการในเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่ง ถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูกหลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้รับทราบแถลงการณ์ของรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นกบฏ ดังนั้น ข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองไซ่ง่อน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2476 รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าพระบรมราชินนยารถ ได้เสด็จเยี่ยมพสนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งแรก และได้ประทับแรมที่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2498 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมือง นครราชสีมาอีกหลายครั้ง